NEWS

5 Key Factors to Consider When Building a Data Center in Thailand

8 ม.ค. 68

5 ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนสร้าง Data Center ในประเทศไทย

การสร้าง Data Center ที่มีความมั่นคงและประสิทธิภาพสูงเป็นการลงทุนที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะไม่เพียงแต่รองรับการทำงานที่ซับซ้อนของอุปกรณ์ IT แต่ยังต้องตอบโจทย์ด้านความปลอดภัย ความยั่งยืน และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีข้อกำหนดเฉพาะตัวที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ต่อไปนี้คือ 5 ปัจจัยสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึง:


1. สภาพภูมิอากาศและสถานที่ตั้ง

  • สภาพภูมิอากาศร้อนชื้น: ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนและความชื้นสูง ซึ่งสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพของอุปกรณ์ไอที การออกแบบระบบระบายความร้อนที่เหมาะสม เช่น Precision Air System หรือ ระบบปรับอากาศแบบ CRAC จะช่วยลดความเสี่ยงของอุณหภูมิที่สูงเกินไปใน Data Center
  • สถานที่ตั้ง:
    • ควรเลือกพื้นที่ที่ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม หรือแผ่นดินไหว
    • ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่เสถียร และระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
    • เลือกพื้นที่ที่เอื้อต่อการเข้าถึงเพื่อการบำรุงรักษา แต่ยังต้องมีระบบความปลอดภัยป้องกันการบุกรุก
    • เลือกพื้นที่ที่รองรับการพัฒนาและเพิ่มโครงสร้างในอนาคตได้

2. ระดับ Tier Classification

การออกแบบ Data Center ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน Tier Classification ซึ่งเป็นแนวทางที่กำหนดโดยสถาบันชั้นนำ เช่นUptime Institute, TIA, และ ANSI/BICSI ซึ่งระดับ Tier (Rated) จะช่วยกำหนดความมั่นคงและความพร้อมใช้งานของ Data Center:

  • Tier (Rated) I: สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เน้นความเรียบง่ายในการออกแบบ
  • Tier (Rated) II: เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการความมั่นคงในระดับพื้นฐาน
  • Tier (Rated) III: รองรับการทำงานแบบ Concurrent Maintenance เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่
  • Tier (Rated) IV: เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการระบบ Fault Tolerant และความพร้อมใช้งานสูงสุด

ทั้งนี้ การเลือก ระดับ Tier ที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจ และความพร้อมด้านงบประมาณ

 


3. มาตรฐานการออกแบบ Data Center

การออกแบบ Data Center ควรปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย:

  • มาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.): เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านโครงสร้างและความปลอดภัย
  • Uptime Institute Tier Standards: กำหนดระดับความพร้อมและการใช้งาน Data Center อย่างมีประสิทธิภาพ
  • TIA-942, BICSI 002-2024: มาตรฐานการออกแบบที่ครอบคลุมทั้งระบบสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐาน และระบบไฟฟ้า
  • NFPA (National Fire Protection Association): มาตรฐานสำหรับระบบป้องกันอัคคีภัย
  • ASHRAE: มาตรฐานสำหรับการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นใน Data Center

 

4. ระบบการทำงานที่มั่นคงปลอดภัย

การออกแบบระบบ Facility Infrastructure ภายใน Data Center ต้องสามารถรองรับความเสี่ยงและมีเสถียรภาพในการทำงาน โดยสามารถพิจารณาออกแบบ โครงสร้างพื้นฐานเบื้องต้น ดังข้อมูลต่อไปนี้:

Redundant System:

  • ระบบพลังงานสำรอง เช่น N+1 หรือ 2N เพื่อลดความเสี่ยงจาก Single Point of Failure (SPOF)
  • การเลือกใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) ชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงและ Power factor = 1  พร้อมมีระบบเครื่องกำหนดไฟฟ้า (Generator) สำรอง สำหรับอุปกรณ์ที่เป็น Critical component

DCIM (Data Center Infrastructure Management): ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานของ Data Center เพื่อความแม่นยำและประสิทธิภาพ

Fire Protection System: ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

  • เลือกใช้สารดับเพลิงชนิด Clean Agent เช่น FK-5-1-12, IG-100 (N2) ที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ IT โดยออกแบบให้ครอบคลุมพื้นที่ Server และ Facility เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด

Fire Detection and Alarm System: ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนอัคคีภัย

  • ใช้ระบบตรวจจับควันไฟความไวสูง เช่น VESDA

·  อุปกรณ์แจ้งเตือนควรครอบคลุมพื้นที่สำคัญทุกจุดเพื่อการตอบสนองฉุกเฉินที่รวดเร็ว

·  ระบบทั้งหมดต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ

Cooling System:

ควรเลือกระบบปรับอากาศที่เหมาะสม เช่น Computer Room Air Conditioner (CRAC) ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิระหว่าง 18-27°C และความชื้นที่ 40-60% RH ตามมาตรฐาน ASHRAE
และควรมีระบบปรับอากาศสำรองแบบ N+1 เพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือความล้มเหลวของระบบหลัก


Security System: ระบบรักษาความปลอดภัย เช่น Access Control, CCTV และการเฝ้าระวัง 24/7

Water Leak Detection System: ระบบตรวจจับน้ำรั่วซึมเพื่อลดความเสี่ยงของความเสียหายต่ออุปกรณ์ IT

 



5. ความเชี่ยวชาญของทีมงานและการบริการ

การสร้างและดูแล Data Center ที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน :

  • ทีมออกแบบที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล:
    ทีมงานผู้ออกแบบควรผ่านการรับรองจากหน่วยงานมาตรฐานระดับโลก เช่น Uptime Institute หรือ เพื่อให้มั่นใจว่า Data Center ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่เหมาะสมทั้งในด้านโครงสร้าง ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการใช้งาน
  • ทีมบริการดูแลระบบซัพพอร์ต Data Center:
    การดูแลและซัพพอร์ต Data Center ควรดำเนินการโดยทีมงานที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน สามารถแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงมีศูนย์บริการตามพื้นที่ต่างๆเพื่อพร้อมรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การซ่อมแซมอุปกรณ์ การแก้ไขระบบไฟฟ้า และการตรวจสอบระบบระบายความร้อน
  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน(Preventive Maintenance):
    ทีมงานที่มีความพร้อมในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเชิงป้องกันช่วยลดความเสี่ยงต่อ Downtime และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์

ด้วยประสบการณ์กว่า 45 ปี CSPM พร้อมสนับสนุนทุกความต้องการในการสร้างและดูแล Data Center อย่างครบวงจร ตั้งแต่ทีมงานนักออกแบบที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลระดับโลก พร้อมนำเสนอการออกแบบที่ตอบโจทย์เฉพาะทาง ไปจนถึงการจัดหาสินค้าระบบสนับสนุน Data Center เช่น ระบบพลังงานสำรอง ระบบระบายความร้อน และระบบป้องกันอัคคีภัย นอกจากนี้ เรายังมีทีมงานบริการหลังการขายที่มีความชำนาญและพร้อมให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ Data Center ของคุณดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงในระยะยาว.